วิธีทําบราวนี่ หม้อหุงข้าว

วิธีทําบราวนี่ หม้อหุงข้าว

หม้อหุงข้าวจัดเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีความสำคัญในชีวิตประจำวัน เพราะนอกจะใช้หุงข้าวแล้ว ยังสามารถใช้ปรุงอาหารเมนูต่าง ๆ ได้อีกมากมายหลายเมนู ซึ่งวันนี้เราจะมาแนะนำ วิธีทําบราวนี่ หม้อหุงข้าว ว่ามีวิธีทำอย่างไร พร้อมกับสาระวิธีทําบราวนี่ หม้อหุงข้าว กี่ นาทีได้ ดี  ๆ น่ารู้มาฝากกันเช่นเคย

วิธีทําบราวนี่

  • ส่วนผสม
  • แป้งสาลีอเนกประสงค์ 1/2 ถ้วย
  • ผงโกโก้ 1/6 ถ้วย
  • ผงฟู 2 ช้อนชา
  • ไข่ไก่ 2 ฟอง
  • เนยสด 60 กรัม
  • น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วย
  • ช็อกโกแลต 175 กรัม
  • กาแฟ 1 ช้อนชา

วิธีทำ

1.ละลายเนยสดกับช็อกโกแลตโดยใช้ไมโครเวฟกำลังไฟ 600 วัตต์ ละลายครั้งละ 30 วินาที ประมาณ 3 ครั้ง

2.นำส่วนผสมออกจากไมโครเวฟแล้วคนจนเข้ากันเป็นเนื้อเดียว พักไว้จนเย็น

3.พอส่วนผสมช็อกโกแลตละลายเย็นดีแล้ว ตอกไข่ไก่ ใส่น้ำตาลทราย และผงกาแฟลงในอ่างผสม

4. ตีจนส่วนผสมเข้ากันเป็นเนื้อเดียว

5.ใส่ส่วนผสมช็อกโกแลตละลายที่เย็นแล้วลงไป คนจนเข้ากันเป็นเนื้อเดียว

6.ร่อนแป้งสาลีอเนกประสงค์ ผงฟู และช็อกโกแลตลงไป

7. ตีจนส่วนผสมเข้ากันเป็นเนื้อเดียว

8.กรุกระดาษไขลงไปในหม้อหุงข้าวก่อนจากนั้น ค่อย ๆ เทส่วนผสมลงไป (ตามด้วยอัลมอนด์สไลซ์) จากนั้นกดปุ่มหุงข้าวได้เลย ถ้าหม้อหุงข้าวมีโปรแกรมหุงเค้กก็กดปุ่มหุงเค้ก ส่วนถ้าเป็นหม้อข้าวธรรมดาก็กดปุ่มหุงข้าวปกติ ถ้าปุ่มมันตัดก็รอให้หม้อเย็นแล้วกดปุ่มหุงใหม่ อย่าลืมกดปุ่มนะ ไม่เช่นนั้นเนื้อบราวนี่จะเป็นไต การสังเกตว่า บราวนี่สุกหรือยังให้ใช้ไม้จิ้มฟันทิ่มลงไปในเนื้อบราวนี่ ถ้าไม่มีเนื้อบราวนี่ติดไม้ขึ้นมาก็แสดงว่าสุกแล้ว

วิวัฒนาการหม้อหุงข้าว

เทคโนโลยีพื้นฐานสิ่งหนึ่งที่อยู่คู่ครอบครัว คนไทย และ คนเอเชีย เกี่ยวกับการอยู่การกิน หรือเรื่องใกล้ตัว คงต้องนึกถึงสิ่งหนึ่งภายในครัวที่ทุกบ้านต้องมีติดไ ว้นั่นคือ หม้อหุงข้าว ทราบหรือไม่ว่า หม้อหุงข้าว ถูกประดิษฐ์ ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยประเทศญี่ปุ่น จุดประสงค์ของการผลิตก็เพียงเพื่อตอบสนองความต้องการ ของแต่ละครอบครัวภายใน ประเทศ เมื่อก่อนนั้นสตรีชาวญี่ปุ่นจำเป็นต้องหุงข้าวด้วยเต าถ่าน ซึ่งการหุงข้าวด้วยเตาถ่านนั้น เสียเวลามาก ต้องใช้เวลาส่วนใหญ่มานั่งเฝ้า อีกทั้งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สตรีญี่ปุ่นต้องใช้แรงงาน เป็นการสนับสนุนในการสงคราม ความสะดวกรวดเร็ว และ การประหยัดเวลาขั้นตอนในการหุงข้าว จึงจำเป็นอย่างยิ่งในยุคนั้น จึงเป็นที่มาของการประดิษฐ์หม้อหุงข้าว และ หม้อหุงข้าวเริ่ม มีการจำหน่ายขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ.1956 ซึ่งถือว่าเป็นอุปกรณ์พื้นฐาน ของครัวเรือนที่ได้รับการตอบรับจากประชาชนชาวญี่ปุ่น อย่างล้นหลาม

วิวัฒนาการของหม้อหุงข้าว ก็มีการพัฒนาเติบโตไปตามยุคสมัย จากวิธีดั้งเดิมที่สุด หม้อหุงข้าว มีชื่อเรียกว่า คามาโดะ ปรากฏในยุคสมัยโคฟุน (ประมาณ ค.ศ. 300-710) คามาโดะ เป็นเตา ธรรมดาๆ ที่สร้างจาก ดิน และ เสริมด้วยเศษอิฐ ที่แตกหรือหัก แล้ว มาหลอมเพื่อเพิ่มความแข็งแรง และ ทนทานต่อความร้อน โดยใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้มทั้งข้าว แกง หรือ ซุป ต่างๆ มีข้อเสียที่เป็นปัญหาใหญ่เลย คือ คามาโดะนั้น ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ต่อมา ในสมัยนารา-เฮอัน (ค.ศ.710-794) วิวัฒนาการ ของหม้อหุงข้าว ก็ได้เปลี่ยนไปอีกครั้ง โดยครั้งนี้เป็น โอกิ-คามาโดะ มีแนวคิดให้ถูกสร้างขึ้นให้ใช้งานกลางแจ้ง มีภาชนะ แยกส่วน สำหรับบรรจุอาหารที่เรียกว่า ฮากามะ ซึ่งเป็นสิ้นส่วนภาชนะที่ใช้สำหรับทิ้งลงไปในหลุมที่ ถูกขุดไว้ด้านล่างโดยมี กองฟืนสำหรับหุงต้ม กลบไว้อีกที ในภายหลังการประดิษฐ์ภาชนะบรรจุข้าวสำหรับหุง ถูกสร้างขึ้นมาแก้ปัญหาข้อนี้โดยเฉพาะ โดยเน้นไปที่รูปแบบลักษณะเป็นทรงรี ถูกตีขึ้นด้วยโลหะ เรียกว่า โอกามะ ชาวญี่ปุ่นเรียก หม้อหุงข้าว ชนิดนี้ว่า มูชิ คามาโดะ กลางทศวรรษ 1920 ญี่ปุ่นเริ่มมีการทดลองพัฒนาผลิตภัณฑ์หม้อหุงข้าว ที่ใช้ไฟฟ้าขึ้นเป็นครั้งแรก สำเร็จในปี 1940 โดยบริษัท ที่เราคุ้นหูกันดีอย่าง มิตซูบิชิ อิเลคทริกส์ เป็น หม้อหุงข้าวที่มีหม้อ และ ใช้ขดลวดนำความร้อนขดอยู่อยู่ภายใน ซึ่งเป็นรูปแบบมาตรฐานที่ดูใกล้เคียงกับหม้อหุงข้าวในปัจจุบันที่สุด และในภายหลัง บริษัทมัตซูชิตะ และ โซนี่ ก็ได้ผลิตหม้อหุงข้าวออกจำหน่าย เช่นเดียวกับ มิตซูบิชิ อิเลคทรอนิคส์ แต่ความนิยมและเรื่องของการใช้งานนั้นก็ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร

กระทั่งวันที่ 10 ธันวาคม ปี 1956 บริษัท โตชิบา ก็ได้นำหม้อหุงข้าวที่ทำงานอัตโนมัติ โดยไม่ต้องคำนวณเวลานั่งเฝ้า และทำการวางจำหน่ายทั้งหมด 700 เครื่อง ผลคือโตชิบาประสบความสำเร็จในการตลาดครั้งนี้ พอเริ่มรู้ทิศทางและความต้องการดีแล้ว โตชิบาก็เริ่มผลิตหม้อหุงข้าวไฟฟ้าอัตโนมัติ เพิ่มอีก 200,000 เครื่อง ในระยะเวลาเพียง 1 เดือน

ซึ่งใน 4 ปี ต่อมาหม้อหุงข้าวไฟฟ้าก็เป็นที่แพร่หลายไปเกือบครึ่ง ประเทศ

หลักการทำงานของหม้อหุงข้าว

หม้อหุงข้าวไฟฟ้าให้ความร้อนในการหุงข้าวโดยอาศัยแผ่นความร้อนที่ก้นหม้อซึ่งทำจากอะลูมิเนียมแผ่นความร้อนนี้มีขดลวดไฟฟ้าอยู่ภายใน  ซึ่งควบคุมโดยเครื่องเปิดปิดอัตโนมัติ  ตรงกลางของแผ่นความร้อนมีรูกลมรูหนึ่ง  ภายในรูมีแม่เหล็กอ่อนที่ไวต่อความร้อนแม่เหล็กออกไซด์ เมื่อยู่ภายใต้อุณหภูมิ 100 ํC หรือต่ำกว่าจะถูกแม่เหล็กถาวรดูด  แต่เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นถึง  103 ํC  จะสูญเสียความเป็นแม่เหล็กถาวรดูด  เมื่อกดสวิตซ์หม้อหุงข้าวไฟฟ้า แกนของสวิตซ์จะดีดให้แม่เหล็กดูดติดกับแม่เหล็กอ่อนที่ไวต่อความร้อนทำให้กระแสไฟฟ้าไหลเข้าสู่ขดลวดความร้อน  เริ่มให้ความร้อนในการหุงข้าว หลังจากข้าวในหม้อเดือดแล้วน้ำในหม้อจะค่อยๆลดลง  เมื่อน้ำเริ่มระเหยจนแห้งอุณหภูมิภายในหม้อจะสูงเกินกว่า  100 ํC พออุณหภูมิสูงถึง 103 ํC  แม่เหล็กอ่อนจะไม่ถูกแม่เหล็กถาวรดูด  แกนของสวิตซ์จะถูกดึงลงมาจากแรงดึงของขดสปริง  และน้ำหนักแม่เหล็กถาวรเองจะกดลงทำให้จุดสัมผัสแยกออกจากกัน  จึงไม่มีไฟฟ้าเข้าสู่ขดลวดความร้อน  ในขณะเดียวกันจะไปเชื่อมโยงให้ระบบไฟฟ้าในการอุ่นทำงาน รักษาอุณหภูมิของข้าวไว้ราว 70 ํC

บทสรุป

เป็นอย่างไรบ้างล่ะ บทความสาระดี ๆ ที่นำมาฝาก พร้อมกับวิธีการทำบราวนี่ที่แสนง่ายและอร่อยจากหม้อหุงข้าว ซึ่งบางคนอาจยังจะไม่รู้ว่า หม้อหุงข้าวนี้สามารถทำ วิธีทําบราวนี่ หม้อหุงข้าว กี่ นาทีได้ ใครที่ว่าง ๆ ลองทำดูนะครับไม่ยากเลยกับเมนูนี้หรือจะทำเมนูอื่น ๆ อีก 24shop.me ก็มีให้ทำอีกหลายเมนู ซึ่งจะเห็นได้ว่า หม้อหุงข้าวนอกจากจะใช้หุงข้าวแล้วยังสามารถนำมาปรุงอาหารได้อีกด้วย